สวัสดีครับเพื่อน ๆ ต้องขอโทษด้วยนะครับที่ไม่ได้เข้ามา Update บทความใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันพอดีช่วงนี้ยุ่ง ๆ นะครับ สำหรับบทความในวันนี้ก็จะสอนเกี่ยวกับการบอกขนาดของชิ้นงาน ซึ่งการบอกขนาดของชิ้นงานนั้นสำคัญมากสำหรับการเขียนแบบ เพราะเมื่อชิ้นงานนั้นเขียนเสร็จแล้วจะต้องสามารถนำไปสร้างเป็นชิ้นงานจริง ๆ ได้ หากใครยังไม่รู้ว่าจะใช้คำสั่งหรือเครื่องมืออะไรในการบอกขนาดก็สามารถดูได้ที่บทความนี้ครับ รู้จักกับ Dimension Style ครับเรามาเข้าเรื่องกันเลยครับ สำหรับการบอกขนาด(Dimension) นั้นมันก็คือการแสดงค่าที่ได้จากการวัดระยะจากรูปภาพ ชิ้นงาน หรือวัตถุ ที่เราได้เขียนขึ้นมา เพื่อที่จะบอกถึงขนาด ระยะห่าง มุมของวัตถุ หรือชิ้นงาน และค่าพิกัด X และ Y ครับ ซึ่งสำหรับโปรแกรม AUTOCAD นั้นก็ได้มีคำสั่ง เครื่องมือ และวิธีการบอกขนาดมากมาย หลายลักษณะ หลายรูปแบบ เช่น การบอกขนาดตามแนวนอน(Horizontal) แนวตั้ง หรือแนวดิ่ง(Vertical) แนวเส้นเอียง(Aligned) แบบต่อเนื่อง(Continue) แบบซ้อนกัน(Baseline) และแบบแกนพิกัดอ้างอิง(Ordinate) และยังสามารถบอกขนาดของรัศมี(Radius) รวมถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง(Diameter) และขนาดของมุม(Angular) ได้ด้วย (โปรแกรม AUTOCAD นี่มันสุดยอดจริง ๆ ^@_@^) เอาหล่ะครับงั้นเรามาดูภาพการบอกขนาดแบบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นกันเลยครับ ^_^
ครับจากภาพเราจะเห็นว่าการบอกขนาดในโปรแกรม AUTOCAD นั้นมันมีหลากหลายแบบแต่ด้วยความที่ว่ามีหลายแบบหลายอย่างนี่แหล่ะครับ เราจึงต้องระวังว่าเวลาที่เราบอกขนาดของชิ้นงานนั้นเราจะต้องบอกให้ถูกต้องตามหลักการบอกขนาดไม่ใช่คิดจะบอกยังไงก็บอก เพราะเวลาที่นำแบบที่เขียนเสร็จแล้วนั้นไปสร้างเป็นชิ้นงานจริง ๆ อาจจะทำให้คนที่สร้างชิ้นงานงงและสับสนได้จนทำให้ชิ้นงานที่สร้างนั้นผิดเพี้ยนได้ ส่วนค่าระยะ และขนาดในภาพนั้นผมไม่ได้ตั้งค่านะครับ เพราะแค่ทำให้ดูให้เห็นภาพเฉย ๆ และอาจจะไม่สวยงามด้วย หวังว่าคงจะมองกันออกนะครับ ^_^! ครับโม้ซะยาวเลยผมวันนี้ สำหรับบทความนี้ก็คงต้องขอจบเพียงเท่านี้นะครับไว้พบกันบทความหน้าครับ^_^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น